ความหมายของเทคโนโลยีอวกาศ
อวกาศ หมายถึง อาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ที่อยู่เลยชั้นบรรยากาศของโลกออกไป ไม่สามารถระบุถึงขอบเขตได้อย่างชัดเจน โดยปกติอวกาศเป็นที่ว่างเปล่า มีความหนาแน่นน้อย
การศึกษาความรู้เกี่ยวกับอวกาศจำเป็นต้องใช้ความรู้ เครื่องมือ
และกลวิธีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์
ดังนั้น
เทคโนโลยีอวกาศ จึงหมายถึง ระเบียบการนำความรู้ เครื่องและวิธีการต่าง
ทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ และอวกาศ
ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วย เช่น
การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้สำรวจและตรวจสอบสภาพอากาศของโลก เป็นต้น
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
ในห้วงอวกาศอันแสนกว้างใหญ่มีปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย
มนุษย์บนโลกได้แต่เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นจากท้องฟ้าสีคราม
ทั้งสุริยุปราคา จันทรุปราคา หมู่ดาวมากมาย ผีพุ่งไต้ ดาวตก
และอีกมากมายนับไม่ถ้วนชวนให้มนุษย์รุ่นต่อ ๆ มาสืบต่อการสังเกตการณ์บนฟากฟ้า
ค้นหาความลี้ลับเกี่ยวกับอวกาศ วัตถุต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าค้นหาความลี้ลับเกี่ยวกับอวกาศ
วัตถุต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้า
การศึกษาในภาควิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า วิชาดาราศาสตร์
วิชานี้ถือกำเนิดเมื่อ 5,000 ปี มาแล้ว นักดาราศาสตร์รุ่นแรกเป็นชาวอียิปต์และชาวบาบิโลเนียน
นักดาราศาสตร์ คือ
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุในท้องฟ้า นักดาราศาสตร์ได้พยายามศึกษาท้องฟ้า
โดยสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์และโลกในสมัยก่อนนักดาราศาสตร์มีความเชื่อต่าง ๆ
กัน บางกลุ่มก็เชื่อว่าโลกแบนราบ
บางกลุ่มก็เชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพและมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
และดวงดาวต่าง ๆ เคลื่อนที่รอบโลก
การศึกษาดาราศาสตร์
เริ่มต้นอย่างจริงจังในสมัยกรีก พโตเลมี นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของกรีก
เชื่อว่าดาวเคราะห์ต่าง ๆ ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกเป็นวงกลม ความเชื่อนี้เป็นที่ยอมรับกันนานถึง 1,700 ปี ต่อมา นิโคลาส คอปเปอร์นิคัส
นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ได้เสนอความคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
แต่ความคิดของเขาเป็นที่ยอมรับหลังจากที่เขาตายไปแล้วเกือบ 100 ปี
ตัวอย่างเทคโนโลยีอวกาศ
จรวด
เป็นเครื่องยนต์พลังสูงที่สามารถเพิ่มความเร็วจนสามารถส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปโคจร
รอบโลก ได้ ถ้าความเร็วของจรวดไม่สูงมากพอหัวจรวดจะตกกลับมายังผิวโลกคล้าย ๆ
การเคลื่อนที่ของ ลูกกระสุนปืน
ดาวเทียม
ดาวเทียมหมายถึงวัตถุที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก
แปลมาจากคำว่า Satellite ซึ่งปกติแปลว่าดาวบริวาร
ดาวเทียมดวงแรกที่ขึ้นไปโคจรรอบโลกคือ สปุคนิค 1
ซึ่งเป็นดาวเทียมของประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย ส่งขึ้นไปเมื่อ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500
และดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐอเมริกาคือเอ็กพลอเรอร์ 1 ซึ่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 31
มกราคม พ.ศ. 2501 ปัจจุบันมีดาวเทียมหลายประเภทและทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น
ดาวเทียมที่ ใช้ประโยชน์ ในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมที่ใช้สำรวจทรัพยากรโลกเรียกว่า ดาวเทียมสำรวจพิภพ
ดาวเทียมที่ถ่ายภาพและส่งข้อมูลเกี่ยวกับเมฆ ตลอดลมฟ้าอากาศ เรียกว่า
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา นอกจากนี้ยังมี ดาวเทียมดาราศาสตร์
ที่ใช้สำรวจศึกษาดวงดาวอีกมากมาย
ยานอวกาศ
ยานอวกาศ หมายถึงยานที่ออกไปนอกโลก
โดยมีมนุษย์ขึ้นไปด้วยพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์
สำหรับการสำรวจหรือไม่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไป
แต่มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จึงอาจแยกยานอวกาศออกเป็น 2
พวกคือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ขับคุม ยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไปด้วยได้แก่
ยานอวกาศเมอร์คิวรี ส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 1 คน
ยานอวกาศเจมินีส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 2 คน ยานอวกาศอพอลโลส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปคราวละ
3 คน ยานอวกาศอพอลโล 11
เป็นยานอวกาศที่นำมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.
2512 ยานขนส่งอวกาศสามารถนำมนุษย์อวกาศหลายคนและสัมภาระต่าง ๆ
รวมทั้งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ แล้วนำนักบินอวกาศกลับสู่พื้นโลกได้คล้ายเครื่องร่อน
ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์อวกาศขับคุมได้แก่ยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดาวดวงอื่น
เช่น ยานเซอร์เวเยอร์ ซึ่งไปลงดวงจันทร์ ยานไวกิงไปลงดาวอังคาร
ยานกาลิเลโอไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ยานแมกเจลแลนสำรวจดาวศุกร์ ฯ
สถานีอวกาศ
สถานีอวกาศ หมายถึงสถานีหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งเคลื่อนรอบโลก
เช่น สถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย สถานีอวกาศฟรีดอมของสหรัฐอเมริกา
โดยความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป ญี่ปุ่นแคนาดาและรัสเซียการออกไปนอกโลก
ความเร็วต่ำสุดที่จะพาดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกได้ต้องไม่ต่ำกว่า 7.91
กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 28,476 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ถ้าออกไปเร็วมากกว่านี้ยานจะออกไปไกลจากผิวโลกมากขึ้น เช่น ถ้าไปเร็วถึง 38,880
กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะไปอยู่สูงถึง 35,880 กิโลเมตร และเคลื่อนรอบโลกรอบละ 24
ชั่วโมง เร็วเท่ากับการหมุนรอบตัวเองของโลก ดาวเทียมที่อยู่ในวงจรเช่นนี้จะอยู่ค้างฟ้า
ณ ที่เดิมตลอด 24 ชั่วโมง
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น